6. คำในข้อใดมีตัวสะกดมาตราเดียวกับ “เหตุผล” ทุกคำ
- พุดตาน ถอดถอน มลพิษ
- มดเท็จ คิดสั้น จัดการ
- ผลัดเวร บทกลอน โทษทัณฑ์
- สวดมนต์ จุดอ่อน ทรัพย์สิน
เหตุผล ข้อ 3 “เหตุผล” ใช้ตัวสะกดมาตรา กด และ กน “ผลัดเวร” “บทกลอน” และ “โทษทัณฑ์” ใช้ตัวสะกดมาตรา กด และ กน ทุกคำ
ข้อ 1 “พุดตาน” และ”ถอดถอน” ใช้ตัวสะกดมาตรา กด และ กน “มลพิษ“ ใช้ตัวสะกดมาตรา กน และ กด
ข้อ 2 “มดเท็จ” ใช้ตัวสะกดมาตรา กด คิดสั้น จัดการ ใช้ตัวสะกดมาตรากด และ กน
ข้อ 4 “สวดมนต์” “จุดอ่อน” ใช้ตัวสะกด มาตรา กด และ กน ทรัพย์สินใช้ตัวสะกดมาตรา กบ และ กน
7. คำซ้ำในข้อใดต้องใช้เป็นคำซ้ำเสมอ
- คนงานใหม่ขยันเป็นพัก ๆ เอาแน่ไม่ได้
- นักเรียนอนุบาลหกล้มหัวเข่าแตกเลือดไหลซิบ ๆ
- งานนี้ถึงจะได้เงินเดือนน้อย ก็ทำไปพลาง ๆ ก่อนแล้วกัน
- ถ้าเราวางแผนให้ดีตั้งแต่แรก ๆ โครงการนี้ก็คงสำเร็จไปแล้ว
เหตุผล ข้อ 1 คำว่า “พัก” ในความหมายว่าระยะเวลาต้องใช้ในลักษณะคำซ้ำเสมอ จะใช้คำว่า ขยันเป็นพักไม่ได้
ข้อ 2 “เลือดไหลซิบ” ใช้ได้ ความหมายเหมือน เลือดไหลซิบ ๆ
ข้อ 3 “ทำไปพลาง” ใช้ได้ ความหมายเหมือน ทำไปพลาง ๆ
ข้อ 4 “ตั้งแต่แรก” ใช้ได้ ความหมายเหมือน ตั้งแต่แรก ๆ
8. ข้อใดเป็นคำซ้อนทุกคำ
- ซ้ำซ้อน ซ่อนรูป ซักฟอก
- ถ่องแท้ ถี่ถ้วน ถากถาง
- บีบคั้น เบียดเบียน เบาความ
- แปรผัน เป่าหู โปรยปราย
เหตุผล ข้อ 2 ทั้ง 3 คำเป็นคำซ้อน ถ่อง แท้, ถี่ ถ้วน, ถาก ถาง แต่ละคำมีความหมายใกล้เคียงกัน
ข้อ 1 “ซ่อนรูป”เป็นคำประสม ไม่ใช่คำซ้อน
ข้อ 3 “เบาความ” เป็นคำประสม ไม่ใช่คำซ้อน
ข้อ 4 “เป่าหู” เป็นคำประสม ไม่ใช่คำซ้อน
9. ข้อความต่อไปนี้ส่วนใดมีคำประสมทั้ง ๒ ส่วน
1) บริเวณสวนกว้างขวาง / 2) มีสนามที่ได้รับการดูแลจากเทศบาลเมือง / 3) มีประติมากรรม
เป็นรูปเทพธิดาแสนงาม / 4) มุมหนึ่งมีนาฬิกาแดดคอยบอกเวลา
- ส่วนที่ 1 และ 4
- ส่วนที่ 2 และ 3
- ส่วนที่ 1 และ 3
- ส่วนที่ 2 และ 4
เหตุผล ข้อ 4 ส่วนที่ 2 มีคำว่า “การดูแล” และ “เทศบาลเมือง” เป็นคำประสม (“เทศบาล” เป็นคำสมาส แต่ “เมือง” เป็นคำไทย) ส่วนที่ 4 มีคำว่า นาฬิกาแดด เป็นคำประสม
ข้อ 1 ส่วนที่ 1 ไม่มีคำประสมเลย (กว้างขวาง เป็นคำซ้อน) ส่วนที่ 4 มี “นาฬิกาแดด” เป็นคำประสม
ข้อ 2 ส่วนที่ 2 มี “เทศบาลเมือง” เป็นคำประสม ส่วนที่ 3 ไม่มีคำประสมเลย (“ประติมากรรม” “เทพธิดา” เป็นคำสมาส)
ข้อ 3 ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 3 ไม่มีคำประสมเลย
10. ข้อใดมีคำประสมทุกคำ
- คำขาด คำคม คำราม
- เดินแต้ม เดินรถ เดินสะพัด
- น้ำป่า น้ำไหล น้ำมือ
- ติดลม ติดใจ ติดขัด
เหตุผล ข้อ 2 “เดินแต้ม” “เดินรถ” “เดินสะพัด” เป็นคำประสมทุกคำ เกิดจากนำคำมูลมาประสมกันแล้วความหมายต่างไปจากเดิม
ข้อ 1 “คำราม” ไม่ใช่คำประสม เป็นคำมูล, “คำขาด” “คำคม” เป็นคำประสม
ข้อ 3 “น้ำไหล” ไม่ใช่คำประสม เป็นประโยค, “น้ำป่า” “น้ำมือ” เป็นคำประสม
ข้อ 4 “ติดขัด” ไม่ใช่คำประสม เป็นคำซ้อน, “ติดลม” “ติดใจ” เป็นคำประสม
ที่มา
http://forum.02dual.com/examfile/655topic/KeyOnet53ThaiM6.PDF
http://forum.02dual.com/examfile/655topic/KeyOnet53ThaiM6.PDF
http://forum.02dual.com/index.php?topic=1470.0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น